วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่2



บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี  วันที่ 21 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2556


ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 13.00-16.30 น.


เวลาเรียน 13.10 น. เวลาเรียน 13.10 น.  เวลาเลิกเรียน 16.40 น.


     ความสำคัญของภาษา

1.   ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร
2.   ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3.   ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจให้ดีต่อกัน
4.   ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

     ทักษะทางภาษา ประกอบด้วย

      การฟัง
      การพูด
      การอ่าน
      การเขียน

     ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget
   
การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา

     กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ

1. การดูดซึม ( Assimilation )

   เป็นกระบวนการที่เด็กได้เรียนรู้และดูดซึมภาพต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง

2. การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ( Acconmodation )

   เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึม โดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ
   เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจ จะเกิดความสมดุล ( Equilibrium ) กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง

   Piaget ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา ดังนี้

1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส ( Sensorimotor Stage ) แรกเกิด-2 ปี
   เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้งต่างๆ
   เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว
   เด็กสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู็ภาษา

2.ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล ( Preoperational Stage )
   2.1 อายุ 2-4 ปี ( Perconcepiual )
 เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสารเล่นบทบาทสมมติ การเล่าเรื่อง แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้าบอกชื่อสิ่งต่างๆรอบตัว ภาษาเด็กมีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์แสดงออกโดยคิดว่าผู้อื่นคิดเหมือนตน
   2.2 อายุ 4-7 ปี ( Intuitire Period )
  ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้างให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้างยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง รู้สึกสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยกลุ่มวัตถุ สามารถเป็นความสัมพันธ์ของสื่งของ

3.ขั้นการคิดแบบรูปธรรม ( Concrete Operational Stage )
  เด็กสามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้เหตุผลที่เป็นนามธรรม

4.ขั้นการคิดแบบนามธรรม ( Formal Operetional Stage )
  เด็กคิดด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา เข้าใจกฏเกณฑ์ของสังคม สร้างมโนทัศน์ให้เหตุผลในการแก้ปัญหา

     พัฒนาการภาษาของเด็ก
  เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้ความเข้าใจ เป็นลำดับขั้นครูหรือผู้สอนต้องมีความเเข้าใจและยอมรับ หากพบว่าเด้กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง ควรมองว่านั่นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

     จิตวิทยาการเรียนรู้
1.ความพร้อม
     วัย ความสามรถ  และประสบการณ์เดิมของเด็ก
2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
     อิทธิพลทางพันธุกรรม
     อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
3.การจำ
     การเห็นบ่อยๆ
     การทบทวนเป็นระยะ
     การจัดเป็นหมวดหมู่
     การใช้คำสัมผัส
4.การให้แรงเสริม
     แรงเสริมทางบวก
     แรงเสริมทางลบ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น